ถ้าเห็น ‘น้ำ’ เหล่านี้ต้องเลี่ยง ดื่มแล้วอาจเป็นอันตราย

ถ้าเห็น ‘น้ำ’ เหล่านี้ต้องเลี่ยง ดื่มแล้วอาจเป็นอันตราย

ถ้าเห็น 'น้ำ' เหล่านี้ต้องเลี่ยง ดื่มแล้วอาจเป็นอันตราย

ทุกครั้งหลังตื่นนอน การดื่ม ‘น้ำเปล่า‘ ในอุณหภูมิห้องนั้นจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายตื่น สดใส พร้อมที่จะออกไปกำกิจกรรมได้ตลอดวัน ซึ่งประโยชน์ของ ‘น้ำ‘ นั้นก็ยังช่วยเสริม บำรุง ไม่ว่าจะเป็นผิวพรรณ ลดเลือนริ้วรอย ทั้งยังช่วยป้องกันโรคภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของเราได้อย่างที่ใครก็คาดไม่ถึง แต่น้ำเราดื่มกันอยู่ทุกวันนี้ หากลองคิดเล่นๆ แล้วมันปล่อยภัยต่อร่างกายของเราจริงๆ หรือ บ้างก็มีสงสัยอยู่บ้างว่าผู้ผลิตเขาไปเอาน้ำที่ไหนมาแปรรูปให้เรากินกันนะ วันนี้ เราพามารู้กันให้ชัดว่าน้ำแบบไหนที่ไม่ควรดื่ม

1. น้ำประปราที่มีปริมาณไตรฮาโลมีเทนสูงจนเกินไป

ไตรฮาโลมีเทน’ คือ สารที่เกิดจากสารอินทรีย์ทำปฏิกิริยากับคลอรีนที่อยู่ในน้ำประปา หากมีสูงมากเกินความจำเป็น สารเหล่านี้ก็อาจเข้าไปก่อมะเร็งได้ โดยที่ในแต่ละประเทศข้อกำหนดของระดับสารไตรฮาโลมีเทนนั้นไม่เท่ากัน ซึ่งน้ำประปาในประเทศไทยจะต้องไม่พบสารนี้มากกว่า 80 ไมโครกรัม ก่อนนำน้ำมาปรุงอาหาร โดยน้ำประปาในบ้านเราพบว่ามีสารไตรฮาโลมีเทนราวๆ 70 – 73 ไมโครกรัมต่อลิตร จึงมั่นใจได้ว่าเป็นน้ำประปาที่สามารถดื่มและนำมาปรุงอาหารได้ และหากพบว่ามีค่าของไตรฮาโลมีเทนสูงกว่านั้นก็ต้องหลีกเลี่ยง

2. น้ำดื่มบรรจุขวดที่ไม่ได้มาตรฐาน / น้ำดื่มที่ต้องสัมผัสแสงแดดเป็นเวลานาน

 

บางครั้งเราก็ไม่อาจรู้ได้ ว่าน้ำดื่มที่เราบริโภคกันอยู่ทุกวันนั้นได้รับการผลิตที่เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยรึเปล่า เพราะบางทีในกระบวนการผลิต น้ำดื่มก็อาจถูกปนเปื้อนจากพลาสติกได้ ดังนั้น เมื่อจะซื้อน้ำมาบริโภคก็ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าน้ำดื่มได้รับการรับรองที่เป็นไปตามมาตรฐาน บริษัทผู้ผลิตมีความน่าเชื่อถือ พร้อมทั้งต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพการผลิตในทุกขั้นตอน

3. น้ำฝน

ถ้าหากเป็นสมัยก่อน ตอนที่บ้านเรา หรือโลกของเรายังไม่เฟื่องฟูเรื่องอุตสาหกรรม การที่แต่ละครัวเรือนบริโภคน้ำฝนกันก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะในยุคสมัยนั้นธรรมชาติก็ยังคงบริสุทธิ์ แต่ละบ้านต่างก็มีที่รองน้ำฝนมาเก็บไว้ดื่มกัน แต่พอมาเดี๋ยวนี้ บรรยกาศตามพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะในเมือง ต่างเต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หนาแน่น เมื่อไปรวมตัวเข้ากับน้ำฝนก็จะกลายเป็นกรดคาร์บอนิก น้ำฝนจึงมีสถานะเป็นกรดอ่อนๆ จะสังเกตได้จากรสชาติของน้ำที่ออกเปรี้ยว ไม่ใช่รสชาติบริสุทธิ์อย่างแต่ก่อน หากกินเข้าไปมากๆ ก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

4. น้ำกลั่น

ถึงแม้ว่าน้ำกลั่นจะเป็นน้ำที่มีความบริสุทธิ์มาก แต่มนุษย์ก็ไม่นิยมน้ำชนิดนี้มาบริโภคกัน เห็นก็แต่ในทางการแพทย์ที่นำเอาน้ำกลั่นไปใช้เตรียมสารละลายต่างๆ อาทิ น้ำเกลือ ซึ่งน้ำกลั่นนั้นเป็นน้ำที่ไม่มีแร่ธาตุให้ประโยชน์กับร่างกาย เมื่อเราดื่มเข้าไป ร่างกายก็จะดึงเอาแร่ธาตุที่สำคัญๆ อย่าง แคลเซียม แมกนีเซียม และเกลือแร่ต่างๆ ออกมาใช้ เมื่อใช้หมดไปก็จะทำให้ร่างกายขาดแคลนแร่ธาตุเหล่านี้ จนอาจเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

 

ดังนั้น เราจึงต้องเลือกบริโภคน้ำดื่มที่ปลอดภัยต่อร่างกายของเรา ให้เลือกบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท ไม่เก็บค้างไว้นาน ได้รับการผลิตจากบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ หรือถ้าเอาให้ชัวร์ ก่อนนำมาบริโภคก็อาจนำไปต้ม ตลอดจนมีเครื่องกรองน้ำที่ได้มาตรฐานติดไว้เพิ่มเติมก็จะดี รวมถึงต้องเปลี่ยนไส้กรองตามเวลาที่กำหนดด้วย