อยู่ให้ไกล ‘ออฟฟิศซินโดรม’ ด้วย 3 เคล็ดลับง่ายๆ

อยู่ให้ไกล 'ออฟฟิศซินโดรม' ด้วย 3 เคล็ดลับง่ายๆ

ใครที่เป็นมนุษย์เงินเดือน ต้องนั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศเป็นเวลานานๆ จะต้องอ่านเรื่องนี้ให้ได้ เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญกับร่างกายและสุขภาพของเราเป็นอย่างมาก ใครจะเชื่อว่าแค่นั่งทำงานอยู่เฉยๆ ก็ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆ ได้มากมาย

กรมควบคุมโรค ได้ออกมาเชิญชวนให้คนทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นพนักงานออฟฟิศ ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ให้ปรับตัว นำเอาหลัก 3 ป. มาปรับใช้ ได้แก่ ปรับสภาพแวดล้อม , เปลี่ยนพฤติกรรม และออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม ซึ่งช่วงปีที่ผ่านมาพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคนี้เพิ่มจำนวนขึ้นมาก จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2556-2560 พบว่ามีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยประมาณ 30.8 ล้านคน เป็นกลุ่มวันวัยทำงานที่นับเอาผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจำนวนมากถึง 28.1 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 91.3 มีปัญหาสุขภาพเนื่องมาจากการทำงานในออฟฟิศ ต้องนั่งจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ไม่เปลี่ยนอิริยาบถ จึงเสี่ยงที่จะป่วยเป็นออฟฟิศซินโดรม

อะไรที่ทำให้เสี่ยงเป็น ‘ออฟฟิศซินโดรม’

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมของคนทำงาน อาจได้แก่ ท่าทางการนั่งทำงานไม่เหมาะสม ซึ่งมีการจัดพื้นทำงานเกินระยะการเอื้อมของมือ หรืออาจเป็นการทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ หรือต้องทำงานอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ

‘ออฟฟิศซินโดรม’ ป้องกันได้ยังไงบ้าง ?

เรื่องการปรับสมดุลในระหว่างการทำงานของพนักงานออฟฟิศมีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม ลดอาการปวดเมื่อยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ โดยเคล็ดลับการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมอาจนำหลัก 3 ป. มาใช้ได้

  1. ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
    • ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา
    • วางคีย์บอร์ดให้อยู่ในระดับข้อศอก โดยพยายามให้ทำมุม 90 องศา
    • นั่งหลังตรง ให้หลังอยู่ชิดกับพนักพิง
    • วางเท้าลงบนพื้น ให้ขาทำมุม 90 องศา
    • ต้องวางข้อมือให้ตรง ต้องไม่บิด หรืองอข้อมือ
  2. เปลี่ยนพฤติกรรมและท่าทางในการทำงาน
    • ในขณะที่พักจากการทำงาน ขอให้ปรับท่าทางโดยยึดหลัก 10-20-60 โดยที่ทุก 10 นาทีให้พักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็ออกไปเดินเล่นและเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 20 นาที เมื่อครบชั่วโมง (60 นาที) ก็ให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและแขน ให้บริหารต้นคอ , ไหล่ , สะบัก , มือ , เอว , หลัง และขา ขอให้ปรับอิริยาบทอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดการปวดเมื่อยและความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้
  3. ออกกำลังกายเป็นประจำ